ปัจจุบันสัดส่วนของวัยทำงานสูงอายุมีแนวโน้มสูงขึ้นทั่วโลก องค์การแรงงานระหว่างประเทศคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2030 จะมี
สัดส่วนวัยทำงานสูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 25 ของแรงงานทั้งหมดในประเทศพัฒนาแล้ว และร้อยละ 12 ในประเทศกำลังพัฒนา
ต่างจากคำว่าผู้สูงอายุซึ่งมีเกณฑ์กำหนดชัดเจนที่ 60 ปี นิยามของคำว่า “วัยทำงานสูงอายุ” นั้นยังไม่มีการกำหนดชัดเจน นอกจากนิยามขององค์การแรงงานระหว่างประเทศแล้ว หน่วยงานอื่น ๆ ก็มีการกำหนดตัวเลขไว้แตกต่างกัน อาทิ รายงานองค์การอนามัยโลก ค.ศ. 1993 กำหนดนิยามไว้ที่อายุ 45 ปีขึ้นไป กฎหมายการเลือกปฏิบัติด้านอายุในการจ้างงาน โดยกระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกากำหนดนิยามไว้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีนิยามที่ไม่ใช้ตัวเลขอายุเป็นเกณฑ์ แต่ให้คำอธิบายไว้ว่า
วัยทำงานจะเข้าสู่การเป็นวัยทำงานสูงอายุเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ทำให้ความสามารถในการทำงานเปลี่ยนแปลง ซึ่งแต่ละคนเข้าสู่ช่วงวัยทำงานสูงอายุไม่เท่ากัน
เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ร่างกายก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระบบต่าง ๆ เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด พบความสามารถในการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจลดลง ความไวในการตอบสนองต่อระบบอัตโนมัติที่ควบคุมการบีบตัวของหัวใจลดลง ระบบหายใจ พบความสามารถในการยืดขยายและหดกลับของทรวงอกและปอดลดลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจลดลง ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก พบมวลกล้ามเนื้อลดลง ขณะที่สัดส่วนของไขมันเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเหล่านี้ส่งผลให้สมรรถภาพของร่างกายลดลงตามมา
การเปลี่ยนแปลงของร่างกายนั้นมีความแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละบุคคลแม้ในช่วงอายุเดียวกัน ไม่มีตัวเลขที่แน่นอนว่าสมรรถภาพของร่างกายจะเริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุเท่าใด แต่การศึกษาที่ผ่านมาสนับสนุนว่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนที่ช่วงอายุประมาณ 45 ปี โดยสมรรถภาพทางกายจะเริ่มลดลงเร็วกว่าสมรรถภาพทางจิต สมรรถภาพทางกายที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ประกอบด้วย การมองเห็น การได้ยิน สมรรถภาพของระบบหัวใจและปอด และ สมรรถภาพของระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก อันได้แก่ ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว การทรงตัว และการประสานงานของกล้ามเนื้อ การที่สมรรถภาพทางกายลดลงนั้นส่งผลต่อความสามารถในการทำงาน และปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะในกลุ่มอาชีพที่ต้องอาศัยแรงกายในการทำงาน สมรรถภาพของระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูกที่ลดลงนั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูกที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน (Work-related musculoskeletal disorders) และเพิ่มความเสี่ยงในการล้ม นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่สนับสนุนว่าผู้ที่มีสมรรถภาพระบบหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับต่ำนั้น มีระดับความสามารถในการทำงานที่ต่ำกว่า และมีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจสูงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่มีสมรรถภาพระบบหัวใจและหลอดเลือดสูง
สำหรับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพทางกายในวัยทำงานสูงอายุ ได้แก่
ซึ่งปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ควรส่งเสริมในทุกเพศทุกวัย ไม่เพียงแต่เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายเท่านั้น
สมรรถภาพทางกายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในกลุ่มวัยทำงานสูงอายุ สถานประกอบการต่าง ๆ จึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพที่เน้นเรื่องการพัฒนาสมรรถภาพทางกาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดปัญหาสุขภาพของวัยทำงานกลุ่มนี้ต่อไป