Telehealth
5 min read

Telehealth การแพทย์ทางไกลสำหรับการดูแลสุขภาพ

Published on
11 Jan 2022
Contributors
แพทย์หญิง นภาลัย ภูริเริงภูมิ
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Subscribe to our newsletter
Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.
การดูแลสุขภาพทางไกลมีบทบาทมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปัจจุบัน การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนากลายเป็นตัวเร่งความเร็วในการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพทางไกล

เพื่อให้ทันใช้ในช่วงที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากและต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อลดการติดต่อจากโรคระบาด จากการได้ลองใช้ระบบการดูแลสุขภาพทางไกล บุคลากรทางด้านสุขภาพคงเห็นตรงกันว่าระบบการดูแลสุขภาพทางไกลมีประโยชน์อย่างมาก และสามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพของประชาชน รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค

การนำเทคโนโลยีมาผสานกับการบริการทางการแพทย์เติมช่องว่างการดูแลสุขภาพในส่วนของการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้วที่ประชากร ร้อยละ 20 มีอายุมากกว่า 60 ปี โรคที่มากับสังคมผู้สูงอายุที่สำคัญคือโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย พฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ หรือความเครียดสะสมจากวัยทำงาน ค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพในวัยสูงอายุมากขึ้น ขณะที่ความสามารถในการหารายได้ลดลง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเป็นการลดขนาดปัญหาของสังคมผู้สูงวัยอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องทำ โดยหากทุกคนไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ ไม่ดูแลสุขภาพตนเอง หรือขาดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพ จะส่งผลเสียอย่างมากต่อประเทศทั้งด้านสุขภาพประชากรและสภาวะเศรษฐกิจ

Telemedicine หรือการแพทย์ทางไกล หมายถึง การวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ป่วยจากระยะไกลโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และส่วนคำว่า Telehealth ในบางครั้งสามารถใช้แทนกันได้ แต่จะมีความหมายที่กว้างกว่า โดย Telehealth หรือบริการทางการแพทย์ทางไกล จะหมายถึงการให้บริการทางการแพทย์ทั้งหมด โดยนอกจากการวินิจฉัยและรักษาโรคแล้ว ยังรวมไปถึง การให้สุขศึกษา คำแนะนำให้การดูแลตนเอง และการให้ข้อมูลทางด้านสุขภาพผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลหรือทางระบบดิจิทัล ซึ่งการสนทนาทางวิดีโอ การใช้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ หรือการบันทึกข้อมูลทางด้านสุขภาพลงในระบบอินเทอร์เน็ต เป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีในบริการทางการแพทย์ทางไกล (Telehealth)

การใช้ Telehealth เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบตัวอย่างเช่น

  • การให้ความรู้ (Patient education) และ
  • ฝึกสอนการดูแลสุขภาพ (health coaching) โดย
  • การสร้างพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การเลือกรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย

โดยผู้ป่วยสามารถปรึกษาและรับการสนับสนุนทางช่องทางออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้จากที่บ้าน การเฝ้าระวัง (Survellience) และช่วยเตือน เช่น

  • การเฝ้าติดตามน้ำหนักตัว
  • ระดับน้ำตาลในเลือด หรือความดันโลหิต

เพื่อติดตามสภาวะสุขภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรัง และการให้บริการการแพทย์ทางไกลสำหรับสุขภาพจิต โดยให้การปรึกษาปัญหาทางใจ ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และภาวะหมดไฟ โดยการพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล 

ประโยชน์ของ Telehealth เพื่อการสร้างเสริมและป้องกันโรคที่เห็นได้ชัด ได้แก่ 
  1. เพิ่มการเข้าถึงการบริการ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล 
  2. เพิ่มความสะดวกสบายในการบริการทำให้เกิดการใช้บริการทางการแพทย์มากขึ้นเพิ่มคุณภาพการให้บริการดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพ เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงในผู้ป่วยเบาหวาน 
  3. ลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการรับบริการ เช่น ค่าเดินทาง ค่ายาที่ไม่จำเป็น ค่าเสียโอกาสจากการหยุดงาน เป็นต้น 
  4. เป็นช่องทางสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และป้องกันโรค 
  5. ช่วยให้ระบบสาธารณสุขมีข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 

ซึ่งในอนาคต telehelath มีแนวโน้มที่จะเติบโตและพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับประเทศไทย telehealth ที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มีการนำไปใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และ Telehealth สามารถมีบทบาทที่สำคัญมากในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค หากมีการนำ Telehealth ไปใช้จริงอย่างกว้างขวาง สร้างความตระหนัก และทำให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มประชากรเป้าหมายโดยเฉพาะประชากรกลุ่มวัยทำงาน

2023 Health and Well-being Thailand • เจตน์ รัตนจีนะ • Jate Ratanachina. All rights reserved.