แนวคิดการนำนวัตกรรมมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ และการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องผนวกเข้ากับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้ครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่าง บริษัทให้ความสำคัญกับนวัตกรรมอย่างมากเพราะมีความเชื่อว่าองค์กรจะเกิดความยั่งยืนได้ต้องมีการพัฒนานวัตกรรมไปด้วยพร้อมกัน เพราะการทำธุรกิจต้องมองมิติอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนั้นนวัตกรรมเพื่อสังคม บริษัทจึงวางเป้าหมาย 3 หมวด คือ
- รายได้
- สุขภาพ
- ความสุขความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงาน
ซึ่งการจัดการดูแลสุขอนามัยเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทรูได้เล็งเห็น ทางบริษัทจึงได้สร้างสรรค์และจัดกิจกรรมอันหลากหลายผ่านโครงการ “ปลูกรัก”
เพื่อความกินดีอยู่ดีของพนักงานอย่างยั่งยืน ใน 4 ด้าน คือ
- ปลูกรักสุขภาพ
- ปลูกรักปลูกธรรม
- ปลูกความผูกพัน
- ปลูกความมั่งคั่ง
การบริหารดูแลสถานประกอบการให้มีสภาวะที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการสถานประกอบการให้มีสุขภาวะที่ดีเหมาะสมต่อการทำงานแก่พนักงานเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของทุกคน ดังนั้น จึงได้จัดสรรหลากหลายแนวทางเพื่อที่จะพัฒนาและรักษาให้พื้นที่ทำงานให้มีสภาวะที่ดี ดังนี้
- โครงการปรึกษาแพทย์ทางออนไลน์เป็นเว็บบอร์ดที่พนักงานสามารถเข้ามาสอบถามหรือสืบค้นเกี่ยวกับอาการหรือรักษาสุขภาพด้านต่าง ๆ โดยการส่งคำถามปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะถูกโพสต์ขึ้น ไปแสดงบนเว็บบอร์ด เพื่อให้พนักงานได้แชร์ความซึ่งกันและกัน เช่น อาการปวดหลัง ปวดไหล่
- ปลูกรักผ่านระบบอินทราเน็ต โครงการปลูกรักสุขภาพดีได้จัดทำข้อมูลบนระบบอินทราเน็ตสาธิตเกี่ยวกับการจัดสถานที่ทำงานให้มีสุขภาวะที่ดีต่อสุขภาพ มีบทความให้ความรู้เกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรม การรักษาสมดุล ระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวการปฏิบัติตนให้ห่างไกลจาก 5 กลุ่มโรคเรื้อรัง
- โยคะเพื่อกายบำบัด และ ชี่กง เพื่อเพิ่มการผ่อนคลายกล้ามเนื้อในระหว่างการทำงาน
- จัดให้มีห้องฟิตเนสให้กับพนักงาน โดยจัดเวลาเพื่อให้ได้มีโอกาสเข้าถึงการออกกำลังกายอย่างทัดเทียม
- การเพิ่มสิทธิ์การลาคลอด ลาเลี้ยงดูบุตรปรับเพิ่มวันลาของพนักงานหญิงเพื่อเลี้ยงดูบุตรเป็น 120 วัน จากเดิม 90 วัน และพนักงานชายจากเดิม 2 วัน เพิ่มเป็น 15 วัน เพื่อช่วยภรรยาเลี้ยงดูบุตร มีศูนย์ดูแลเด็กเล็ก และยังมีห้องเก็บนมมารดาในช่วงในนมบุตรอีกด้วย