จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินงานพัฒนางานด้าน Diversity in the workplace ความหลากหลายในองค์กร ภายใต้แนวคิดในการบริหารที่สนับสนุนความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของมนุษย์และทำให้รู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน แตกต่างแต่ไม่แบ่งแยก โดย ‘ความหลากหลาย’ เป็นวัฒนธรรมที่จำเป็นในองค์กร ไม่ใช่แค่กระแสสังคมการมองเห็นคุณค่าของความแตกต่างของพนักงานภายในองค์กร โดยพนักงานทุกคนจะต้องได้รับการปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติและทำให้พนักงานรู้สึกแปลกแยกกับบุคคลอื่นในองค์กร การส่งเสริมความหลากหลายภายในองค์กร เพราะความหลากหลายของบุคลากรจะช่วยเพิ่มโอกาสในการจัดการและแก้ไขปัญหาได้ดียิ่งขึ้น
1. สุขภาวะทางกาย (Physical well-being) เช่น การมีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่เป็นโรค ไม่พิการ
2. สุขภาวะทางจิต (Mental well-being) เช่น การไม่เครียด การไม่วิตกกังวล การมีความพึงพอใจในชีวิต
3. สุขภาวะทางสังคม (Social well-being) เช่น การอยู่ร่วมกันด้วยดี มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง มีครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมมีความยุติธรรม มีความเสมอภาค มีภราดรภาพ มีสันติภาพ เข้าถึงสวัสดิการ ระบบบริการสาธารณะที่ดี
4. สุขภาวะทางปัญญา (Intellectual well-being) เข่น การมีทักษะชีวิต การเรียนรู้ต่อเนื่อง โลกทัศน์ที่ถูกต้อง ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาวะทางจิตวิญญาณ (Spiritual well-being) เช่น การรู้ผิดชอบชั่วดี การไม่ยึดถือตัวตน เข้าใจตัวเอง